ภัยพิบัติจากธรรมชาติ

ภัยพิบัติจากธรรมชาติ

ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี (Red Tides)

 

 

         ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี (Red Tides) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของแพลงก์ตอนบางชนิด จนทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสีไป อาจมีทั้งที่เป็นประโยชน์และมีผลระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งในบางครั้งเป็นเหตุให้สัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมากได้เนื่องจากคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมลง เช่น ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำลดลงต่ำมาก หรือ แพลงก์ตอนพืชปล่อยสารพิษบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำออกมาปริมาณมาก (biotoxin)

          การเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีมีความสัมพันธ์โดยตรงกับกิจกรรมมนุษย์บริเวณชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะการเพิ่มปริมาณอินทรีย์สารบริเวณชายฝั่ง เช่น น้ำเสียจากบ้านเรือนชุมชน จากกิจกรรมการเกษตร อุตสาหกรรม และการขยายตัวของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ในประเทศไทยมีรายงานการพบปรากฏการณ์นี้มานานแล้ว  ซึ่งชาวบ้านมักเรียกว่าปรากฏการณ์ ”ขี้ปลาวาฬ”  เพราะมองเห็นแพลงก์ตอนจำนวนมากเป็นฝ้าลอยอยู่บนผิวน้ำ  และเริ่มมีรายงานว่าพบน้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง เขียว และน้ำตาล สีที่เห็นเปลี่ยนแปลงไปตามชนิดแพลงก์ตอนที่เกิดขึ้นซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลและระบบนิเวศทางทะเลในระดับความรุนแรงต่างกัน จากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในทะเล ได้แก่ ออกซิเจนในน้ำบริเวณนั้นลดลง เนื่องจากการเพิ่มจำนวนของแพลงก์ตอนทำให้มีการใช้ออกซิเจนมากขึ้น เมื่อแพลงก์ตอนเหล่านั้นตายลงสารอินทรีย์ในแพลงก์ตอนจะกลายเป็นแหล่งอาหารที่ดีของแบคทีเรีย มีการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียมากขึ้น ทำให้อัตราการใช้ออกซิเจนในน้ำสูงขึ้นตามไปด้วย  และเซลล์ของแพงก์ตอนพื้ชที่ลอยในน้ำจะลอยเป็นฝ้าหรือกลุ่มก้อนในน้ำ บดบังการส่องของแสงลงไปในน้ำ

        การลดลงของออกซิเจนในน้ำและความเข้มของแสงที่ส่องผ่านในน้ำลดลง มีผลให้จำนวนสัตว์น้ำ ความหลากหลายและความชุกชุมของสัตว์น้ำเปลี่ยนแปลงไป กระทบต่อกิจกรรมการประมงและกิจกรรมการท่องเที่ยวในบริเวณนั้น ถ้าแพลงก์ตอนที่เพิ่มจำนวนขึ้นสามารถสร้างสารพิษได้ อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำ และสารพิษจะถูกถ่ายทอดผ่านสายใยอาหารจนถึงมนุษย์ซึ่งเป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้าย  (ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี,2554)

ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว

 

ปรากฏการณ์ที่ปะการังชนิดต่างๆ รวมถึง สิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง อีกหลายชนิด มีสีซีดลง และหาก การฟอกขาวนั้น เป็นไปโดยสมบูรณ์ อย่างที่เรียกกันว่า Completely bleaching เราก็จะพบว่า ปะการังเหล่านั้น เหลือเพียงเนื้อเยื่อใสๆ เผยให้เห็นสีขาว ของหินปูน ซึ่งเป็น โครงสร้างของมัน   โดยทั่วไป ปะการัง และสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง ชนิดที่จะเกิด การฟอกขาวได้นั้น จะมีลักษณะ การดำรงชีวิต ที่ต่างไปจากสัตว์อื่นๆ กล่าวคือ มีความสัมพันธ์แบบ พึ่งพาอาศัยกับ ไดโนแฟลกเจลเลต (Dinoflagellate) หรือสาหร่ายเซลล์เดียวขนาดเล็ก ที่เรียกกันว่า “ซูแซนเทลลี”ซูแซนเทลลี จะอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นในของปะการัง (และสัตว์จำพวกที่ว่า) โดยเป็นตัวที่ ช่วยสร้างสีสันให้แก่ร่าง หรือ Host ที่มันอาศัย

     นอกจากซูแซนเทลลี จะใช้รงควัตถุในตัวมัน สร้างสีสัน ที่ช่วยในการ ปกป้อง เนื้อเยื่อของสัตว์ ที่มันอาศัยอยู่ ไม่ให้ถูกแผดเผาโดย รังสี จากดวงอาทิตย์ และทำให้สัตว์เหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องมีสีสันของมันเอง (หรือมีบ้างเล็กน้อย) แล้ว ซูแซนเทลลี ยังใช้รงควัตถุนี้ ในการ สังเคราะห์แสง สร้างอาหารให้แก่ตัวมัน และสัตว์ที่มันอาศัยร่วมอยู่ด้วย การที่มีซูแซนเทลลี อยู่คอยสร้างอาหารให้ จึงทำให้สัตว์เหล่านี้ โดยเฉพาะปะการัง ไม่ต้องหาอาหารเองมากนัก ทั้งยังได้ประโยชน์จาก ขบวนการสังเคราะห์แสง ที่สำคัญซูแซนเทลลี ยังช่วยให้ การสร้างหินปูน ในปะการัง หรือสัตว์ ที่สร้างเปลือกหินปูน เป็นไปได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเท่ากับ ช่วยให้แนวปะการัง เจริญเติบโต เร็วขึ้นการฟอกขาวของปะการังและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในแนวปะการัง นั้น เกิดได้สองลักษณะคือ การสูญเสีย ซูแซนเทลลี จากเนื้อเยื่อของมัน และ/หรือ การที่ซูแซนเทลลี สูญเสีย รงควัตถุ ในตัวมันไป ซึ่งทั้งสองกรณีนี้ ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ นับตั้งแต่ อุณหภูมิน้ำทะเล ที่เพิ่มสูงขึ้น หรือลดต่ำลง, ความเข้มแสง ที่มากเกินไป, ผลร่วมของความเข้มแสง และอุณหภูมิน้ำทะเล ที่เพิ่มสูงขึ้น, ความเค็ม ลดต่ำ และการติดเชื้อ โดยเฉพาะจากแบคทีเรีย

  สาเหตุที่ก่อให้เกิด ปรากฏการณ์ แนวปะการัง ฟอกขาว เป็นวงกว้างทั่วโลก มักเกิดจากการที่ อุณหภูมิน้ำทะเล เพิ่มสูงขึ้น, ผลจากความเข้มแสง หรือสองปัจจัยนี้ร่วมกัน ในขณะที่ สาเหตุอื่นๆ มักทำให้เกิด การฟอกขาวของปะการัง เฉพาะพื้นที่เท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ ได้สังเกตพบว่า โดยทั่วไป ปะการัง จะสามารถปรับตัว ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อมที่มันอาศัย โดยจะคงสภาพอยู่ได้ถึง ระดับ อุณหภูมิสูงสุด ตามภาวะปรกติ แต่ปะการังจะฟอกขาว หากอุณหภูมิ ขึ้นสูงกว่าระดับสูงสุด จากที่เคยเป็นเพียง ๑ เซลเซียสเท่านั้น สมมุติเช่น อุณหภูมิสูงสุดในอ่าวไทย ตามปรกติอยู่ที่ ๓๐ องศาเซลเซียส หากปีใด อุณหภูมิในอ่าวไทยสูงเกินกว่า ๓๑ องศาเซลเซียส โอกาสที่ ปะการัง จะฟอกขาว ก็ย่อมเกิดขึ้นได้

      ปรากฏการณ์แนวปะการังฟอกขาวนี้ มิได้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก นักวิทยาศาสตร์ สังเกตเห็น ความผิดปรกติ จากปรากฏการณ์ แนวปะการัง ฟอกขาว มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยพบว่า ปะการังเกิดการฟอกขาว อย่างกว้างขวาง ทั่วทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก หลังจากนั้น ก็พบในมหาสมุทรอื่นๆ เป็นประจำ ในประเทศไทยเอง การเกิดปรากฏการณ์ แนวปะการังฟอกขาวในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ นี้ ก็มิได้ เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่อาจนับเป็นครั้งแรก ที่เกิดการฟอกขาว ของปะการัง ขึ้นทั่วทั้งอ่าวไทย ทั้งนี้เชื่อกันว่า การเกิดปรากฏการณ์ แนวปะการังฟอกขาว ทั่วทั้งอ่าวไทยครั้ง นี้เป็นผลมาจาก ปรากฏการณ์ เอลนีโญ ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และส่งผลกระทบต่อ สภาพ ภูมิอากาศโลก รวมทั้งทำให้เกิด ปรากฏการณ์ แนวปะการัง ฟอกขาว ในน่านน้ำอื่นๆ เกือบทั่วโลกด้วย

        ปรากฏการณ์ฟอกขาว ที่เกิดขึ้นกับ แนวปะการังครั้งนี้ อาจเป็น จุดเริ่มต้นของ การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ หรืออาจเป็นเพียง เหตุการณ์เล็กๆ ตามธรรมชาติก็ได้ ทั้งนี้เพราะ การเปลี่ยนแปลงของ แนวปะการัง มีขึ้นตลอดระยะเวลาวิวัฒนาการของแนวปะการัง ตั้งแต่เกือบ ๕๐๐ ล้านปีมาแล้ว กุญแจของความอยู่รอด ของแนวปะการัง ในแต่ละบริเวณ ที่สุดแล้ว ก็คงจะขึ้นอยู่กับ ปะการัง และซูแซนเทลลี ว่า จะมีการปรับตัวอย่างไร ภายใต้ปัจจัยอันแปรปรวน ของสภาพแวดล้อมโลก ที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ครั้งใหญ่ ของโลก เกิดขึ้นมาแล้ว หลายต่อหลายครั้ง แม้ในยุค Quaternary ในช่วงแสนปีที่ผ่านมา อุณหภูมิของทั้งน้ำ และอากาศ สูงยิ่งกว่าในปัจจุบัน แต่แนวปะการัง ก็ยังคงดำรงอยู่ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่มีในยุค Quaternary ก็คือ การคุกคามจากมนุษย์ และกิจกรรมของมนุษย์ และถึงวันนี้ เราเองก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เรามีส่วนร่วมอยู่ใน ขบวนวิวัฒนาการครั้งสำคัญนี้ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นปรากฏการณ์ครั้งนี้ คงไม่เพียงทำให้เรา ได้เห็นสีที่แท้จริงของ ปะการัง และสัตว์ ในแนวปะการังเท่านั้น แต่น่าจะแสดงให้เห็นถึง สีที่แท้จริงของ Homo sapiens นี้ด้วย  (ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว,2554)

Tsunami

           “Tsunami” สึนามิเป็นคำมาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า “harbor wave” หรือคลื่นที่เข้าสู่อ่าว ฝั่งหรือท่าเรือ โดยที่คำว่า “Tsu” หมายถึง ” harbor” อ่าว,ฝั่งหรือท่าเรือ ส่วนคำว่า ‘Nami’ หมายถึง “คลื่น”ในอดีตนั้นสึนามิ ถูกใช้ในความหมายถึงน้ำท่วม ใหญ่ริมฝั่ง ทะเลเนื่องมาจากแผ่นดินไหว    คลื่นสึนามิแตกต่างจากคลื่นน้ำธรรมดามาก ตัวคลื่นนั้นสามารถเดินทางได้เป็นระยะทางไกล โดยไม่สูญเสียพลังงาน และสามารถเข้าทำลายชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลจากจุดกำเนิดหลายพันกิโลเมตรได้ โดยทั่วไปแล้วคลื่นสึนามิซึ่งเป็นคลื่นในน้ำ จะเดินทางได้ช้ากว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เป็นคลื่นที่เดินทางในพื้นดิน ดังนั้น คลื่นอาจเข้ากระทบฝั่งภายหลังจากที่ผู้คนบริเวณนั้นรู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวเป็นเวลาหลายชั่วโมง

           คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมากเกิดการเคลื่อนตัว เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรืออุกกาบาตพุ่งชนเมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกระทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้เช่นกันนอกจากการกระทบกระเทือนที่เกิดใต้น้ำแล้ว การที่พื้นดินขนาดใหญ่ถล่มลงทะเล หรือการตกกระทบพื้นน้ำของเทหวัตถุ ก็สามารถทำให้เกิดคลื่นได้ คลื่นสึนามิที่เกิดในรูปแบบนี้จะลดขนาดลงอย่างรวดเร็วและไม่มีผลกระทบต่อชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลมากนัก อย่างไรก็ตาม ถ้าแผ่นดินมีขนาดใหญ่มากพอ อาจทำให้เกิด เมกะสึนามิ ซึ่งอาจมีความสูงร่วมร้อยเมตรได้  (สึนามิ,2554)

ภัยจากคลื่นใต้น้ำ 

               คลื่นและกระแสน้ำ  เป็นการเคลื่อนไหวของน้ำในทะเล  2  ลักษณะซึ่งไม่เหมือนกัน  แต่มีความเกี่ยวเนื่องกันบาทีพลังงานจากคลื่น,  กระแสน้ำ  เสริมด้วยลม  และพายุที่มีความเร็วสูงจะก่อให้เกิดอุทกภัยที่มีความรุนแรง  และอำนาจทำลายล้างสูงมาก      ดังจะเห็นได้จากปรากฏการณ์เมื่อเดือนมกราคม  ปีค.ศ.1753  ในทะเลเหนือ  กล่าวคือ  ระดังน้ำสูง (High  Spring  Tide)  บวกกับคลื่นสูง (Storm  Waves)  และลม  (Winds)  ซึ่งมีความเร็วสูงถึง  185 กิโลเมตร/ชั่วโมง  (หรือ 115  ไมล์/ชม.)  ทำให้ระดับน้ำในทะเลเหนือสูงกว่าปกติถึง  3  เมตร  (10 ฟุต)  ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า  “SURGE”  ในทะเล,  ผลลัพธ์ก็คือ  เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างขวางแถบชายทะเลภาคตะวันออกของอังกฤษ  ในส่วนของเนเธอร์แลนด์พื้นที่ประมาณ  4.3ของประเทศถูกน้ำท่วมขัง  ทำให้บ้านเรือนราว  30,000  หลังได้รับความเสียหาย และถูกทำลาย  มีผู้คนเสียชีวิตกว่า 1,800  คน (ภัยจากคลื่นใต้น้ำ , 2554)

 

ใส่ความเห็น